บล็อกเกอร์นี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน(0012006)มหาวิยาลัยมหาสารคาม

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

การเตรียมตัวเจ้าเหมียวน้อย...ก่อนออกไปเที่ยวนอกบ้าน

   ความสำคัญต่อเจ้าเหมียวในฐานะของหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวได้รับการยอมรับในวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้จากจำนวนงานสัตว์เลี้ยงที่นับวันจะจัดบ่อยขึ้น ทั้งในห้างสรรพสินค้า ช้อปปิ้งมอลล์ขนาดใหญ่ใจกลางเมือง ไปจนถึงศูนย์การประชุมระดับชาติ แน่นอนว่าเมื่อมีงานสัตว์เลี้ยงมาทั้งที จะให้เจ้าเหนียวอุดอู้อยู่แต่ในบ้านก็กระไรอยู่

          แต่ครั้นจะพาเจ้าเหมียวไปนอกบ้าน ก็ไม่รู้ว่าจะได้ไปเที่ยวอย่างสนุกสนานแล้วยังได้โรคและเห็บหมัดมาเป็นของแถมด้วยหรือเปล่า วันนี้เรามีคำแนะนำดี ๆ ในการพาเจ้าเหมียวออกไปเที่ยวนอกบ้านอย่างอุ่นใจมาฝากกัน

          เพื่อเป็นการป้องกันเจ้าเหมียวจากโรคติดเชื้อร้ายแรง เจ้าของแมวควรทำวัคซีนประจำปีตามที่สัตวแพทย์กำหนดเพื่อป้องกันการติดโรคจากภายนอก และยังเป็นการป้องกันโรคติดต่อจากสัตว์เลี้ยงมาสู่เจ้าของด้วย
กลุ่มของวัคซีนในแมว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
          1. Feline core-vaccination หรือกลุ่มวัคซีนที่ควรทำ ได้แก่...

           วัคซีนพิษสุนัขบ้า (Rabies) ควรเริ่มทำที่อายุ 3-4 เดือน และฉีดซ้ำเมื่ออายุครบ 1 ปีหลังจากเริ่มฉีดเข็มแรก หลังจากนั้นฉีดซ้ำทุก 3 ปี

           วัคซีนกลุ่ม Feline Viral Rhinotracheitis (FRV), Feline Calicivirus (FCV) และ Feline Panleukopenia (FP) เรียกรวมว่า FVRC-P แนะนำให้ทำวัคซีนทั้ง 3 ชนิดนี้ในแมวทุกตัว โดยให้ทำ 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับอายุของแมวที่ได้รับวัคซีนเข็มแรก หลังจากนั้นให้ฉีดซ้ำทุก 3 ปี

          2. Feline optional-vaccination หรือวัคซีนทางเลือก (จะทำหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงในการติดเชื้อ)

           วัคซีนลิวคีเมีย (Feline Leukemia; FeLV) แนะนำให้ฉีดในแมวอายุน้อยกว่า 4 เดือนที่เลี้ยงปล่อยหรือเลี้ยงนอกบ้านที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส ควรตรวจเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อก่อน หากพบว่าแมวได้รับเชื้อมาก่อนหน้าทำวัคซีนแล้วก็ไม่จำเป็น ต้องทำวัคซีนอีก แต่ถ้าแมวยังไม่เคยได้รับเชื้อแนะนำให้ฉีดวัคซีนติดต่อกัน 2 เข็มในปีแรก จากนั้นฉีดซ้ำทุกปี

           วัคซีนป้องกันโรคช่องท้องอักเสบ (Feline Infectious Peritonitis; FIP) ใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิต

           วัคซีนป้องกันโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องในแมว (Feline Immunodeficiency Virus; FIV) ใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิต

          สำหรับเจ้าของลูกแมวที่ต้องการทราบโปรแกรมการดูแลสุขภาพ ก็สามารถอ่านรายละเอียดการดูแลสุขภาพคร่าว ๆ ตามรายละเอียดดังนี้ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ควรปรึกษาสัตวแพทย์ผู้ดูแลเจ้าเหมียว และปรับโปรแกรมการดูแลสุขภาพตามที่สัตวแพทย์แนะนำ

อายุ 8-10 สัปดาห์ 

          - ตรวจร่างกาย และถ่ายพยาธิครั้งที่ 1
          - วัคซีน FVRC-P ครั้งที่ 1 (10 สัปดาห์)
          - วัคซีนลิวคีเมีย (ควรตรวจเลือดเพื่อตรวจหาการติดเชื้อก่อน) เริ่มทำที่อายุ 9 สัปดาห์

อายุ 12-14 สัปดาห์

           ตรวจร่างกาย และถ่ายพยาธิครั้งที่ 2
           วัคซีน RVRC-P ครั้งที่ 2 (14 สัปดาห์)
           วัคซีนลิวคีเมีย ครั้งที่ 2 (12 สัปดาห์)
           วัคซีนพิษสุนัขบ้า (12 หรือ 16 สัปดาห์)
อายุ 5-6 สัปดาห์

                           เริ่มป้องกันพยาธิหนอนหัวใจ (ทุก 1 เดือน)
                           ทำหมันแมว (ตัวผู้หรือตัวเมีย)

                                           ทุก 1 ปี

           ตรวจร่างกายประจำปี
           วัคซีน FVRC-P ซ้ำเมื่อครบ 1 ปี
           วัคซีนพิษสุนัขบ้าซ้ำเมื่อครบ 1 ปี
           วัคซีนลิวคีเมียซ้ำเมื่อครบ 1 ปี


          นอกจากเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้เจ้าเหมียวแล้ว ก่อนที่เจ้าของจะพาแมวออกไปเปิดหูเปิดตาก็อย่าลืมสังเกตอาการต่างๆ ที่ผิดปกติของเจ้าเหมียวกันด้วย เช่น การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ การกินน้ำและอาหาร รวมไปถึงพฤติกรรม เช่น ซึม ซ่อนตัว ก้าวร้าว เป็นต้น ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพของเจ้าเหมียวได้

          อีกหนึ่งปัญหาที่เจ้าของแมวไม่ควรมองข้ามนั่นก็คือ การป้องกันปรสิตภายนอก (เช่น เห็บ หมัด) และปรสิตภายใน เช่น พยาธิตัวกลม ตัวแบน อย่างสม่ำเสมอ เพราะเจ้าเหมียวอาจติดปรสิตเหล่านี้กลับมาบ้าน และอาจทำให้แมวตัวอื่น ๆ ในบ้านพลอยติดไปด้วยก็เป็นได้

  การป้องกันทำได้ง่ายกว่าแก้ไข กันไว้ก่อนย่อมดีกว่าแก้แน่นอน เพราะหากเกิดความผิดปกติขึ้นมาแล้ว นอกจากจะเสียเวลาเจ้าของแมวยังอาจจะเสียเงินก้อนโตในการรักษาเจ้าเหมียว หรืออาจสูญเสียกระทั่งชีวิตเจ้าเหมียว ฉะนั้นหากคิดจะพาเจ้าเหมียวไปเที่ยวแล้ว อย่าลืมเตรียมสุขภาพแมวให้พร้อม จะได้ไปเที่ยวได้สนุกในงานสัตว์เลี้ยงสุดหรรษา และกลับบ้านมาอย่างสบายใจ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น